วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประแจ

ประแจ (Wrench)
ประแจเป็นเครื่องมือสำหรับจับโบลท์แลนอต ส่วนมากทำจากเหล็กกล้า เหล็กเครื่องมือหรือเหล็กตีขึ้นรูป หรือเหล็กผสมอื่น ๆ ซึ่งมีคุณภาพดีไม่เกิดสนิม และข้อสำคัญคือเหล็กที่ทำเครื่องมือนี้จะต้องทนต่อแรงดึง-แรงดันมากพอสมควร มีอยู่หลายแบบตามลักษณะการใช้งาน เช่น

ชนิดของประแจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประแจปากตาย
ประแจปากตาย
1.ประแจปากตาย (OPEN END WRENCH) ป็นประแจชนิดที่ไม่ต้องการใช้แรงขันหรือคลายมากนักเพราะมีด้านที่รับแรงจริง ๆ เพียง 2 ด้าน แต่ประแจนี้เหมาะสำหรับงานที่อยู่ในที่บังคับเพราะจับเหลี่ยมนอตได้พอดี เช่น นอตขนาด 17 มม. ต้องใช้ประแจปากตาย เบอร์ 17 เป็นต้น



ประแจแหวน
2. ประแจแหวน (BOX WRENCH) ป็นประแจชนิดที่ใช้กับแรงกด ขันมาก ข้อดีคือประแจชนิดนี้จับเหลี่ยมของโบลท์และนอตได้เต็มที่ ดังนั้นจึงใช้แรงดึงและดันได้สูงมากแต่ข้อเสียคือการใช้ประแจตัวนี้จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมจึง จะจับชิ้นงานได้อย่างสมบูรณ์

ประแจรวม

3.ประแจรวม (COMBINATION WRENCH) หรือประแจแหวนข้าง เป็นประแจที่รวมเอารูปร่างและคุณสมบัติของประแจปากตายและประแหวนเข้าด้วยกันซึ่งด้านหนึ่งเป็นประแจแหวน อีกด้านหนึ่งเป็นประแจปากตาย




ประแจกระบอก
4.ประแจกระบอก (SOKET WRENCH) เป็นประแจที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับประแจแหวน แต่แตกต่างกันที่สร้างเป็นบล็อกกลมขนาดต่าง ๆ ส่วนภายในมีเหลี่ยมกับโบลท์-นอต เป็น 6-8-12 เหลี่ยม และต้องใช้ด้ามต่อประแจแบบต่าง ๆ มาใช้ตามลักษณะ   งานที่ต้องการ จุดเด่นของประแจชนิดนี้คือ  สามารถใช้สำหรับวัดแรงกดขันนอตได้สะดวก เหมาะใช้ในงานยนต์

ประแจหัวฝัง หรือประแจแอล
5.ประแจหัวฝัง หรือประแจแอล (SET-SCREW or ALLEN WRENCH) เป็นประแจที่ใช้สำหรับ สกรู โบลท์ ที่ทำหัวเป็นลักษณะกลม แต่สร้างร่องเหลี่ยมไว้ภายในเพื่อขัน คลาย ซึ่งเรียกทั่วไปว่า เซท-สกรู (SET SCREW)



ประแจเลื่อน
6.ประแจเลื่อน (ADJUSTABLE WRENCH)ประแจเลื่อนเป็นประแจที่สามารถปรับความกว้างของปากประแจได้ ประแจเลื่อนมีปากข้างหนึ่งตายตัว แต่ปากอีกข้างหนึ่งสามารถเลื่อนไป-มา ได้ ปัญหาที่สำคัญของการใช้ประแจเลื่อนคือถ้าหากผู้ใช้ปรับความกว้างของปากประแจมากกว่าหัวโบลท์-นอต หรือปากประแจขยับไป-มา ได้จะทำให้ปากประแจรูดและหัวนอต โบลท์ รูดทำให้เสียหายได้ ดังนั้นถ้าสามารถหาประแจชนิดอื่น ๆ มาใช้งานได้แล้วไม่ควรใช้ประแจเลื่อนโดยเด็ดขาด




7.ประแจคอม้า (straight pipe wrench) เป็นประแจที่ปรับขนาดได้ สำหรับใช้ในงานขันท่อโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ประแจชนิดนี้ออกแบบให้ฟันของประแจที่หน้าสัมผัส กินเข้าไปในผิวสัมผัสในขณะใช้งาน เพื่อให้จับชิ้นงานได้แน่นหนา จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ขันน็อตเพราะจะทำให้หัวน็อตเสียหาย
ประแจคอม้า








การใช้งานประแจด้วยความปลอดภัยสามารถทำได้ ดังนี้
  1. เลือกใช้ประแจที่มีขนาดของปากและความยาวของด้ามที่เหมาะสมกับงานที่ใช้ ไม่ควรต่อด้ามให้ยาวกว่าปกติ
  2. ปากของประแจต้องไม่ชำรุด เช่น สึกหรอ ถ่างออก หรือร้าว
  3. เมื่อสวมใส่ประแจเข้ากับหัวนอตหรือหัวสกรูแล้ว ปากของประแจต้องแน่นพอดีและคลุมเต็มหัวน๊อต
  4. การจับประแจสำหรับผู้ถนัดมือขวา ให้ใช้มือขวาจับปลายประแจ ส่วนมือซ้ายหาที่ยึดให้มั่นคง ร่างกายต้องอยู่ในสภาพมั่นคงและสมดุล
  5. การขันประแจไม่ว่าจะเป็นขันให้แน่น หรือคลายต้องใช้วิธีดึงเข้าหาตัวเสมอ และเตรียมพร้อมสำหรับปากประแจหลุดขณะขันด้วย
  6. ควรเลือกให้ประแจชนิดปากปรับไม่ได้ก่อน เช่น ประแจแหวน หรือประแจปากตาย ถ้าประแจเหล่านี้ใช้ไม่ได้จึงค่อยเลือกใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อน แทน
  7. การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อนหรือประแจจับแป๊ป ต้องให้ปากด้านที่เลื่อนได้อยู่ติดกับผู้ใช้เสมอ
  8. การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ ต้องปรับปากประแจให้แน่นกับหัวนอตก่อน จึงค่อยออกแรงขัน
  9. ปากและด้ามของประแจต้องแห้งปราศจากน้ำมันหรือจาระบี
  10. การขันนอตหรือสกรูที่อยู่ในที่แคบหรือลึก ให้ใช้ประแจบ๊อก เพราะปากของประแจบ๊อกจะยาว สามารถสอดเข้าไปในรูที่คับแคบได้
  11. ขณะขน ประแจต้องอยู่ระนาบเดียวกันกับหัวนอตหรือหัวสกรู
  12. ไม่ควรใช้ประแจชนิดปากปรับได้กับหัวนอตหรือสกรูที่จะนำกลับมาใช้อีกเพราะหัวนอตหรือสกรูจะเสียรูป

ต้องขอขอบคุณ

ที่มา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น